สำนักงานทนายความของเรามีประสบการณ์ในการว่าความเกี่ยวกับคดีอาญา
การประกันตัว หรือ การปล่อยชั่วคราว คืออะไร
การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว หรือที่เรียกกันว่า การประกันตัวนั้น ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวน หรือปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีขั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ประกันตัว
ผู้ประกันสามารถขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ได้ทุกขั้น ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและระหว่างการพิจารณาคดี
ผู้ที่มีสิทธิยื่นขอประกันตัว ได้แก่ พ่อแม่ ลูก คู่สมรส ญาติ นายจ้าง ผู้ต้องหาหรือจำเลย
ผู้ที่มีสิทธิคัดค้านการให้ประกันตัว ได้แก่ พยาน ผู้เสียหาย พนักงานสอบสวน อัยการ
เงื่อนไขและลักษณะของหลักประกัน
แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่: 1) การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน 2) การใช้บุคคลเป็นประกัน
*นอกจากนี้ หลักทรัพย์ที่สามารถใช้เป็นประกันยังรวมถึง หลักทรัพย์ที่มีค่าอย่างอื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น พันธบัตร รัฐบาลสลากออมสิน สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก ตั๋วแลกเงินหรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรองซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้ในวันที่ทำสัญญาประกัน หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัว
1. บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกันพร้อมสำเนา
2. หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) เงินสด บัญชีเงินฝาก
3. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง (กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)
4. หนังสือรับรองราคาประเมิน (กรณีใช้โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นระกัน)
5. หนังสือรับรองจากธนาคาร (กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นประกัน)
6. หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)
หลักเกณฑ์ในการสั่งคำร้องขอประกัน
เมื่อยื่นคำร้องขอประกันแล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ประกอบในการพิจารณาสั่งคำร้อง คือ
1. ความหนักเบาแห่งข้อหา
2. พยานหลักฐานที่นำสืบแล้วมีเพียงใด
3. พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
4. เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
6. ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด
7. คำคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ
หากคุณประสบปัญหาในขั้นตอนใด ทนายความที่มีประสบการณ์ของเราพร้อมให้ความช่วยเหลือคุณได้ทุกเมื่อ
ทนายความคดีอาญา ทนายความคดีอาญาพัทยา ทนายความพัทยา สำนักงานทนายความพัทยา ทนายความชลบุรี สำนักงานทนายความชลบุรี ทนายความคดีอาญากรุงเทพ ทนายความกรุงเทพ สำนักงานทนายความกรุงเทพ ทนายความระยอง สำนักงานทนายความระยอง ทนายความเชียงใหม่ สำนักงานทนายความเชียงใหม่ ทนายความขอนแก่น สำนักงานทนายความขอนแก่น ทนายความสมุย สำนักงานทนายความสมุย ทนายความเพชรบูรณ์ สำนักงานทนายความเพชรบูรณ์ ทนายความหัวหิน สำนักงานทนายความหัวหิน ทนายความอุดรธานี สำนักงานทนายความอุดรธานี ทนายความเกาะช้าง สำนักงานทนายความเกาะช้าง ทนายความประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานทนายความประจวบคีรีขันธ์